Thursday, June 5, 2014

การเขียนแผนธุรกิจที่สัมฤทธิ์ผม

 หัวใจสำคัญของการเขียนแผนธุรกิจ SME เพื่อกูแบ้ง

             การยื่นกู้นั้นก็เพื่อให้เรามีทุนสำหรับนำมาลง แต่อย่าลืมว่าเงินนั้นไม่ใช่ของเรา ถึงเราจะได้เงินมาใช้แต่ก็มีสิ่งที่ต้องจ่ายตอบแทน นั่นก็คือดอกเบี้ย หากเราบริหารจัดการกิจการไม่ดี นอกจากจะไม่สามารถประคองกิจการให้อยู่รอดได้แล้ว ยังต้องเป็นหนี้เป็นสิน หรือทำเท่าไหร่ก็เอาไปใช้หนี้หมด ดังนั้นจะทำกิจการอะไรพึงต้องคิดให้รอบคอบและมองให้กว้าง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์ในหลวงยังคงใช้ได้เสมอ ทำอะไรก็ให้อยู่ในวิสัยที่เราสามารถจัดการได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นจนเกินไป

เอสเอ็มอี แบงก์ แนะ "เขียนแผนธุรกิจอย่างไรให้ได้กู้"

             หลาย คนสบโอกาสประกอบธุรกิจ แต่ติดปัญหา เงินทุนในกระเป๋าจำกัด หรือหากมีก็เพียงพอเฉพาะก่อร่างสร้างตัว แต่ถึงคราวขยับขยายกลับติดขัด ด้วยเหตุนี้สถาบันการเงินหลายแห่งจึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ หรือผู้คิดสู่อาชีพอิสระ ยื่นความจำนงขอสินเชื่อ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เอกสารประกอบการพิจารณา อย่าง แผนธุรกิจ ควรมีพร้อม
ผู้ประกอบ การ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หลายคนอาจไม่เข้าใจว่าหลักการเขียนแผนธุรกิจ เริ่มต้นจากตรงไหน และสิ่งใดควรบันทึกลงไปบ้าง

โครงการดี มีความชัดเจน

เดินทางมาได้ ที่ฝ่ายสินเชื่อ

    ทั้ง นี้ คุณอดิศักดิ์ จิระวุฒิพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อ 6 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ เอสเอ็มอี แบงก์ ธนาคารของรัฐ ซึ่งเปิดให้บริการด้านสินเชื่อ พร้อมมอบคำปรึกษา กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม กล่าวแนะนำวิธี "เขียนแผนธุรกิจอย่างไรให้ได้กู้"
ก่อนเข้าสู่เรื่องราวการเขียน แผนธุรกิจ คุณอดิศักดิ์ เกริ่นกล่าวถึง บริการสินเชื่อเอสเอ็มอี แบงก์ ว่า ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการแทบทุกประเภท ยกเว้น สินเชื่อเกษตร ซึ่งสามารถติดต่อได้ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สำหรับธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น จัดสรรที่ดิน บ้านจัดสรร โดยส่วนนี้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รับผิดชอบดูแล
จากนั้นกล่าวต่อว่า "ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่ค่อยกล้าติดต่อกับธนาคาร จึงอยากเรียนว่า ถ้าโครงการดี มีความชัดเจน ทั้งดำเนินอยู่แล้ว หรือคิดไว้ในใจ สามารถเดินทางเข้าพบเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อของธนาคารได้ทุกแห่ง
นอก จากให้สินเชื่อ เอสเอ็มอี แบงก์ ยังดูรูปแบบธุรกิจด้วยว่าเกี่ยวข้อง สามารถร่วมมือกันได้หรือไม่ เช่น ผู้ค้าขายกาแฟสด กับผู้จำหน่ายเมล็ดกาแฟ จากนั้นจับคู่ เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า นอกจากสร้างพันธมิตรธุรกิจแล้ว ผู้ประกอบการสามารถซื้อวัตถุดิบได้ในราคาถูก"

ในส่วนการเขียนแผน ธุรกิจ เพื่อยื่นจำนงขอสินเชื่อกับทางธนาคารนั้น ประกอบด้วยเรื่องสำคัญ 4 แผน คือ แผนการจัดองค์กร เช่น การจัดฝ่ายหรือแผนกในองค์กร จำนวนพนักงานมีกี่คน ผู้ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานนั้น อัตราเงินเดือนของพนักงานคนละเท่าไร ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้สามารถบ่งบอกถึงขนาด รูปแบบ และรวมไปถึงค่าใช้จ่ายขององค์กร
แผนต่อมาเกี่ยวกับการผลิต เช่น วัตถุดิบนำมาผลิต หาซื้อจากแหล่งใด อุปกรณ์การผลิต รวมไปถึงราคา เพื่อทราบถึงต้นทุน
หัวข้อที่สาม ว่าด้วยแผนการตลาด อาทิ ทำเลที่ตั้งร้าน กลุ่มลูกค้า เช่นนี้เป็นต้น เพื่อให้ทราบถึงโอกาสอันนำมาสู่ยอดขาย
แผน สุดท้ายเรื่องการเงิน ซึ่งหมายรวมถึงเงินลงทุนในการประกอบธุรกิจโดยรวม ตั้งแต่ค่าวัตถุดิบอุปกรณ์ ค่าตกแต่งร้าน จากนั้นสรุปยอด สมมติ ต้องใช้เงินลงทุน 400,000 บาท แต่ผู้ประกอบการมีเงินในกระเป๋า 100,000 บาท เท่ากับว่ายังขาดเงินทุน 300,000 บาท ส่วนตรงนี้สามารถเดินทางเข้าปรึกษาเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อของธนาคารเพื่อหา ทางออกได้
การเริ่มต้นเขียนแผนธุรกิจ ถ้าสินเชื่อเงินกู้ไม่มากนัก เอสเอ็มอี แบงก์ จัดทำแบบฟอร์มการเขียนแผนธุรกิจฉบับย่อ เพื่อให้ผู้ประกอบการเติมคำในช่องว่างตามความเป็นจริงได้ ที่ www.smebank.co.th หากยังเขียนไม่ถูก สามารถคลิกเข้าไปดูตัวอย่างแบบฟอร์ม ซึ่งมีให้เลือกประมาณ 300 ธุรกิจ

เขียนแผนตรงกับภาคธุรกิจ

         พิจารณาตามหลัก 5 ประการ
คุณ อดิศักดิ์ กล่าวต่อว่า การเขียนแผนธุรกิจมีอยู่ด้วยกัน 3 ภาค คือ ภาคการผลิต ภาคบริการ ภาคซื้อมาขายไป โดยผู้ประกอบการสามารถเลือกเขียนแผนธุรกิจให้ตรงตามธุรกิจของตนได้ เช่น ผลิตจำหน่ายทุเรียนอบกรอบ สามารถคลิกเข้าไปดูตัวอย่างการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิต แต่หากประกอบธุรกิจรีสอร์ต ถือว่าอยู่ในภาคบริการ แต่หากรับกางเกงยีนส์จากโรงงานแห่งหนึ่งเพื่อจำหน่ายต่อ อย่างนี้เรียกว่า ภาคซื้อมาขายไป
สำหรับหลักเกณฑ์พิจารณาสินเชื่อของ เอสเอ็มอี แบงก์ หลักๆ 5 ประการ หรือเรียกว่า 5 C
ประการ แรกคือ Character นั่นหมายถึงอุปนิสัยของผู้กู้ เป็นอย่างไร ประการต่อมา Capacity ความสามารถในการคืนเงินให้กับธนาคาร อันหมายถึงผลกำไรในการประกอบธุรกิจ ยกตัวอย่าง หากขอสินเชื่อ 1 ล้านบาท โดยตกลงระยะเวลาผ่อนชำระ 5 ปี เท่ากับว่าใน 1 เดือนต้องชำระหนี้ให้กับธนาคารประมาณ 22,000 บาท รวมอัตราดอกเบี้ยตามกำหนด ซึ่งส่วนนี้ธนาคารจะเป็นผู้พิจารณาว่า ผู้กู้มีความสามารถในการชำระคืนหรือไม่
ประการที่สาม Capital ส่วนร่วมทุนกับธนาคาร เป็นต้นว่า ต้องการทำธุรกิจในวงเงินทุน 1 ล้านบาท โดยยื่นความจำนงขอกู้วงเงินเต็มจำนวน ซึ่งหากโครงการนั้นไม่ดีจริง ยากนักจะเป็นไปได้ แต่ทั้งนี้ เอสเอ็มอี แบงก์ หาทางออกให้ โดยผู้กู้นำเงินของตัวเองส่วนหนึ่งมาลงทุนอาจ 2 ใน 10 ส่วน ที่เหลือธนาคารจะเข้ามาร่วมหัวจมท้ายด้วย
ประการที่สี่ Collateral หลักประกันของผู้กู้ ซึ่งควรมีมูลค่ามากกว่าวงเงินกู้นิดหน่อย "ถ้าธนาคารประเมินหลักประกันให้ 1 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อสามารถให้ได้ 80 เปอร์เซ็นต์ จากราคาประเมิน"
สำหรับประการสุดท้าย Condition เงื่อนไขอื่นๆ เช่น อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร ระยะเวลาผ่อนชำระ เป็นต้น "ที่ผ่านมาไม่เคยมีใครผ่านเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อ ซึ่งในส่วนของเอสเอ็มอี แบงก์ ให้ความสำคัญกับ หลักประกัน และความสามารถในการชำระเงินคืน ฉะนั้น ผู้ประกอบการที่คิดขอสินเชื่อ ไม่ต้องกังวล อย่างได้บอกคือ ถ้าโครงการดี มีความมุ่งมั่น เดินทางเข้ามาปรึกษาเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อได้ทุกสาขาทั่วประเทศ"
จาก นั้นธนาคารจะพิจารณาในส่วนของหลักประกัน เพื่อนำมาค้ำประกันวงเงินสินเชื่อ "การกู้เงินกับธนาคารทุกแห่งต้องมีหลักประกัน อย่าง อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการค้าขาย เป็นต้น และถ้าสินเชื่ออนุมัติผ่านแล้ว ต่อมาเป็นขั้นตอนทำสัญญา พร้อมเดินทางไปจดจำนองหลักประกัน จึงเบิกเงินให้ลูกค้านำไปประกอบธุรกิจต่อไป

No comments:

Post a Comment