Thursday, June 5, 2014

MISSION

  Mission คือ https://oke.io/YVAP ข้อความที่กำหนดถึงภารกิจที่องค์การมุ่งหวังจะกระทำให้เกิดผลสำเร็จตามวิสัย ทัศน์ที่องค์การมีอยู่พันธกิจ ในแต่ละบริษัทอาจแตกต่างกัน มี 2 Criteria หลัก

1. คือ Mission ที่บอกถึงวัตถุประสงค์ของความต้องการของลูกค้า เช่น ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง หรือมีการบริการที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า

2. เป็นความเชื่อของคณะกรรมการบริหารที่ยึดมั่นในคุณค่าอะไรบ้าง ลำดับความสำคัญที่ผู้บริหาร Commit  บริหารและใช้ตัดสินใจเป็นหลักเกญฑ์

           โดยทั่วไป Mission คือ คำอธิบายที่บ่งบอกถึงวัตถุประสงค์ของกลุ่มหรือองค์กร ซึ่งโดยปกติจะเป็นข้อความง่าย ๆ ที่กระชับ มีผลระบุชัดเจนว่ากลุ่มหรือองค์กร    ยืนหยัดอยู่เพื่ออะไร และอยู่ในธุรกิจประเภทไหน ภารกิจ เป็นคำบรรยายที่ตอบคำถามว่า   “เราทำอะไรกันที่นี่ และพวกเราจะมาทำอะไรกัน ”ส่วน Vision คือภาพแนวกว้างเท่านั้น มิได้ระบุถึงสิ่งที่เราจะทำ แต่ระบุสิ่งที่เราอยากเป็น

การกำหนดเป้าหมายในแผนกลยุทธ์ที่ดีควรเป็นอย่างไร

การสร้างวิสัยทัศน์ (VISION)

วิสัยทัศน์ (vision) คือ ภาพในใจของผลลัพธ์สุดท้ายที่คุณคาดหวัง วิสัยทัศน์ไม่จำเป็นต้องแสดงถึงความเป็นอัจฉริยะหรือเป็นสิ่งใหม่ แต่มันเป็นผลของการคิดเชิงกลยุทธ์ในมุมกว้างเกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญ ต่างๆ ของบริษัท

วิสัยทัศน์ของคุณสอดคล้องกับแผนงานขององค์กรหรือไม่ ในโลกแห่งวิชาชีพ คำว่าวิสัยทัศน์มักถูกนำไปใช้สับสนกับคำอื่นๆ ที่สำคัญอย่างเช่น พันธกิจ เป้าหมาย หรือ คำขวัญ แม้ว่าวิสัยทัศน์จะเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้แต่มันก็อยู่เหนือสิ่งต่างๆ ดังกล่าวและทำให้สิ่งเหล่านั้นมีความหมาย

อะไรเป็นองค์ประกอบของวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและมีพลัง วิสัยทัศน์ที่ดีนั้นควรมีองค์ประกอบดังนี้
- เข้าใจได้ง่ายและมีลักษณะตามอุดมคติ โดยควรจะสอดคล้องกับค่านิยมหลักขององค์กร
- ท้าทาย แต่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ข้อความวิสัยทัศน์อาจจะใช้ภาษาที่สูง เพราะคนต้องการให้มันยิ่งใหญ่มากพอที่จะสื่อถึงความต้องการหลักของผู้คนใน ด้านความสำเร็จ การยกย่องและการมีส่วนร่วม
- มีความมุ่งเน้น วิสัยทัศน์ควรจะสามารถใช้เป็นเครื่องนำทางในการตัดสินใจได้ด้วย
- เป็นประโยชน์สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นั้นคือ ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และพนักงาน โดยควรจะสื่อให้เข้าใจถึงผลประโยชน์สำหรับกลุ่มต่างๆ เหล่านั้น
- อธิบายและเข้าใจได้ง่าย แม้ว่าการทำให้วิสัยทัศน์นั้นเป็นจริง จะเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน แต่การอธิบายวิสัยทัศน์ก็ควรจะทำได้โดยง่าย

10 กลยุทธ์ในการทำตลาด

การตลาดที่ทำได้ง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนมากนั้นสามารถทำได้โดยใช้วิธีการต่อไปนี้

  1. ทำให้ ลูกค้ารู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพิเศษ – ทุกครั้งที่มีเราแสดงว่าเรายอมรับตัวตนของลูกค้า ลูกค้ามักจะตอบสนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรู้สึกว่าจ่ายน้อยแต่ได้คุ้ม Denise McMillan เจ้าของธุรกิจจำหน่ายกระเป๋าพกพาแบบทำมือที่มีชื่อว่า Plush Creations (www.plushcreations.com) กล่าวว่า “แม้ธุรกิจจะดำเนินกิจการผ่านเว็บ แต่ก็สามารถให้บริการที่ดีแก่ลูกค้าได้” เธอมักจะแนบถุงกุหลาบแห้งกลิ่นหอมขนาดเล็กๆ ไปกับกระเป๋าใส่เครื่องประดับและกระเป๋าใส่ชุดชั้นในที่เธอจำหน่ายพร้อม เขียนการ์ดด้วยลายมือว่า “ขอบคุณ” ไปด้วยเสมอ เธอคิดว่า “แม้ถุงเล็กๆ และกระดาษการ์ดจะมีราคาและต้องลงทุน แต่มันก็เพิ่มคุณค่าพิเศษลงไปเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าซื้อแล้วได้รับการรับ รู้ว่าตนเองคือคนพิเศษ”
  2. ออกแบบนามบัตรที่ลูกค้าดูแล้วรู้สึกอย่างเก็บ –คนส่วนใหญ่มักโยนนามบัตรทิ้งหลังจากได้รับจากประชุมเสร็จแล้วไม่กี่ชั่วโมง การสร้างนามบัตรที่ผู้รับรู้สึกอย่างเก็บเพราะมีประโยชน์น่าจะดีกว่า อย่างเช่น ทำสมุดฉีกที่มีหมายเลขติดต่อและคำโฆษณาธุรกิจไว้ทุกๆ หน้าแล้วออกแบบให้สวยงาม Elliott Black นักวางกลยุทธ์การตลาดจาก Northbrook รัฐ Illinois กล่าวว่า “สมุดฉีกที่เป็นนามบัตรไปด้วยในตัวนี้ เก็บไว้ใช้ได้นานอย่างน้อยก็ 30 วัน ช่วยให้ลูกค้าจำเราได้ดียิ่งขึ้น”
  3. หยุดให้บริการลูกค้าที่เขาซื้อของเราแน่ๆ อยู่แล้ว แต่ให้หันความสนใจไปที่ลูกค้าที่ยังไม่ยอมซื้อสินค้าของเราให้มากขึ้น – หากความคิดนี้ทำให้คุณกังขา ขอให้คิดไตร่ตรองดูอีกที เพราะคุณอาจตกหลุมพราง โดยมัวแต่เพิ่มยอดขายจากลูกค้ากลุ่มนี้ แต่กลับไม่เห็นผลกำไรให้งอกเงย หากคุณหยุดกิจกรรมการตลาดที่จะสื่อสารถึงลูกค้าเหล่านี้แล้ว คุณจะมีเวลาและทรัพยากรมากขึ้นไปกับลูกค้าที่จะที่ให้ธุรกิจเติบโต Michael King นักการตลาดจาก Atlanta กล่าวว่า “ร้อยละ 20 ของฐานลูกค้าในมือคุณคือกลุ่มที่สร้างยอดกำไรในแต่ละปีได้สูงถึงร้อยละ 150 ถึง 200 และร้อยละ 70 ของฐานลูกค้าคือกลุ่มที่ทำให้คุ้มทุน และอีกร้อยละ 10 คือกลุ่มที่สร้างกำไรร้อยละ 50 ถึง 100 ของยอดกำไรทั้งปี” ลองดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับศักยภาพในการเพิ่มผลกำไรในฐานลูกค้าของคุณอย่าง ละเอียดแล้วก็พุ่งเป้าให้บริการแบบ Premium Service ไปที่ลูกค้ากลุ่มนั้น พร้อมทั้งทำการตลาดอย่างเหมาะสมด้วย (Microsoft Outlook 2010 with Business Contact Manager สามารถวิเคราะห์ประวัติของลูกค้าคุณได้)

การเขียนแผนธุรกิจที่สัมฤทธิ์ผม

 หัวใจสำคัญของการเขียนแผนธุรกิจ SME เพื่อกูแบ้ง

             การยื่นกู้นั้นก็เพื่อให้เรามีทุนสำหรับนำมาลง แต่อย่าลืมว่าเงินนั้นไม่ใช่ของเรา ถึงเราจะได้เงินมาใช้แต่ก็มีสิ่งที่ต้องจ่ายตอบแทน นั่นก็คือดอกเบี้ย หากเราบริหารจัดการกิจการไม่ดี นอกจากจะไม่สามารถประคองกิจการให้อยู่รอดได้แล้ว ยังต้องเป็นหนี้เป็นสิน หรือทำเท่าไหร่ก็เอาไปใช้หนี้หมด ดังนั้นจะทำกิจการอะไรพึงต้องคิดให้รอบคอบและมองให้กว้าง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์ในหลวงยังคงใช้ได้เสมอ ทำอะไรก็ให้อยู่ในวิสัยที่เราสามารถจัดการได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นจนเกินไป

เอสเอ็มอี แบงก์ แนะ "เขียนแผนธุรกิจอย่างไรให้ได้กู้"

             หลาย คนสบโอกาสประกอบธุรกิจ แต่ติดปัญหา เงินทุนในกระเป๋าจำกัด หรือหากมีก็เพียงพอเฉพาะก่อร่างสร้างตัว แต่ถึงคราวขยับขยายกลับติดขัด ด้วยเหตุนี้สถาบันการเงินหลายแห่งจึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ หรือผู้คิดสู่อาชีพอิสระ ยื่นความจำนงขอสินเชื่อ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เอกสารประกอบการพิจารณา อย่าง แผนธุรกิจ ควรมีพร้อม
ผู้ประกอบ การ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หลายคนอาจไม่เข้าใจว่าหลักการเขียนแผนธุรกิจ เริ่มต้นจากตรงไหน และสิ่งใดควรบันทึกลงไปบ้าง

โครงการดี มีความชัดเจน

เดินทางมาได้ ที่ฝ่ายสินเชื่อ

    ทั้ง นี้ คุณอดิศักดิ์ จิระวุฒิพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อ 6 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ เอสเอ็มอี แบงก์ ธนาคารของรัฐ ซึ่งเปิดให้บริการด้านสินเชื่อ พร้อมมอบคำปรึกษา กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม กล่าวแนะนำวิธี "เขียนแผนธุรกิจอย่างไรให้ได้กู้"
ก่อนเข้าสู่เรื่องราวการเขียน แผนธุรกิจ คุณอดิศักดิ์ เกริ่นกล่าวถึง บริการสินเชื่อเอสเอ็มอี แบงก์ ว่า ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการแทบทุกประเภท ยกเว้น สินเชื่อเกษตร ซึ่งสามารถติดต่อได้ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สำหรับธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น จัดสรรที่ดิน บ้านจัดสรร โดยส่วนนี้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รับผิดชอบดูแล
จากนั้นกล่าวต่อว่า "ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่ค่อยกล้าติดต่อกับธนาคาร จึงอยากเรียนว่า ถ้าโครงการดี มีความชัดเจน ทั้งดำเนินอยู่แล้ว หรือคิดไว้ในใจ สามารถเดินทางเข้าพบเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อของธนาคารได้ทุกแห่ง
นอก จากให้สินเชื่อ เอสเอ็มอี แบงก์ ยังดูรูปแบบธุรกิจด้วยว่าเกี่ยวข้อง สามารถร่วมมือกันได้หรือไม่ เช่น ผู้ค้าขายกาแฟสด กับผู้จำหน่ายเมล็ดกาแฟ จากนั้นจับคู่ เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า นอกจากสร้างพันธมิตรธุรกิจแล้ว ผู้ประกอบการสามารถซื้อวัตถุดิบได้ในราคาถูก"